วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Problem Solving หมายถึง

Problem Solving Thinking Skills



การคิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถือเป็นกระบวนการของกิจกรรมทางสมอง ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมภายใน เช่น ค่านิยม ความเชื่อ และส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมาให้เราได้เห็นกัน คนเราสามารถคิดได้ทั้งที่เกิดประโยชน์และผลเสียต่อตนเอง ขึ้นอยู่กับการฝึกและเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอการฝึกทักษะและขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา(Problem Solving Thinking Skills) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าหลายๆคนไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองจนกลายเป็นความเคยชิน ขาดความมั่นใจ รอแต่ผู้อื่นมาแก้ปัญหาให้กับตนเอง  แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามีคนชี้นำสักนิด หรือสักก้าวก็จะสามารถดำเนินการ การแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนผู้นั้นไม่ได้มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา แต่ทักษะในการแก้ปัญหาสามารถฝึกได้และสร้างได้โดยอาศัยการเรียนรู้ พัฒนา และการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ

การคิดแก้ปัญหา เป็นความสามารถทางสมองเป็นการคิดที่มีกระบวนการ มีขั้นตอน ดังนั้นในการที่คนเราจะฝึกฝนให้มีทักษะในการแก้ปัญหาได้นั้น ก็ต้องฝึกตามขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 4 ขั้นตอน  คือ 1) การกำหนดปัญหา 2) การตั้งสมมติฐานหรือการหาแนวทางการแก้ปัญหา 3) การทดสอบสมมติฐานหรือการเลือกวิธีการแก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติ 4) การประเมินและสรุปผล

หลายๆคนอาจจะรู้กระบวนการขั้นตอนของการแก้ปัญหาแล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ บางคนก็บอกว่าเพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และพยายามตั้งสมมติฐานใหม่ หาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ นานา มาแก้ไขปัญหา แท้ที่จริงการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ไม่สามารถระบุหรือกำหนดปัญหาที่แท้จริงว่า คืออะไร เนื่องจากในความเป็นจริงปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีความซับซ้อน มีทั้งปัญหาหลัก ปัญหารอง เราต้องแยกแยะให้ได้ว่าปัญหาหลักคืออะไร ปัญหารองคืออะไร เพราะถ้าเราไปแก้ที่ปัญหารอง มันก็จะแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ปัญหาหลักก็ยังคงอยู่ การกำหนดปัญหาถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสาคัญมากในการแก้ปัญหา เพราะถ้าเรากำหนดปัญหาผิดตั้งแต่ขั้นแรกของกระบวนการแก้ปัญหา ปัญหานั้นก็คงไม่มีทางหมดไปได้หรือไม่ได้รับการแก้ไข

การกำหนดประเด็นปัญหาต้องกำหนดจากสาเหตุ(causes)ไม่ควรกำหนดปัญหาที่อาการแสดง (Symptom) เช่น บริษัทมีปัญหาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าล่าช้า เนื่องจากปัญหาเรื่องเวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานเกินไป ในที่นี้ประเด็นปัญหาคือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้าที่ยาวเกินไป ไม่ใช่ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหา ต้องเป็นการแก้ปํญหาเรื่องระยะเวลาในการผลิต ไม่ใช่การแก้ปํญหาของระยะเวลาการส่งมอบสินค้าเป็นต้น

การฝึกฝนทักษะการคิดแก้ปัญหามีความจำเป็นของทุกคน เพราะทุกชีวิตล้วนต้องเจอกับปัญหา คนที่ประสพความสำเร็จมากที่สุด คือคนที่สารมารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด....ขอบคุณครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่องการแก้ปัญหา(Problem Solving) ได้ที่:

http://www.operationkm.blogspot.com/search?q=Problem+solving

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น