วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Activity-based costing: ABC คืออะไร

Activity-based costing: ABC คืออะไร

ในองค์กรธุรกิจ ต้นทุนฐานกิจกรรม (อังกฤษ: activity-based costing: ABC) คือวิธีการหนึ่งของการจัดสรรต้นทุนทรัพยากรขององค์กร โดยอาศัยกิจกรรมการผลิตสินค้าหรือบริการที่สร้างขึ้นสำหรับลูกค้า วิธีการ ABC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงต้นทุนของสินค้าและลูกค้า และผลประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้ ABC ถูกใช้เพื่อรองรับการตัดสินใจทางกลยุทธ์ดังเช่น การกำหนดราคา การจัดจ้างคนภายนอก และการระบุและการวัดกระบวนการดำเนินการ เป็นต้น

ประวัติการพัฒนา

แต่เดิมนั้น การประเมินราคาผลิตภัณฑ์นั้น จะใช้มูลค่าของแรงงานทางตรง (direct labor) และ วัสดุทางตรง (direct material) เป็นฐาน และคิดค่าใช้จ่ายในการผลิต (overhead costs) ในลักษณะอัตราส่วนเทียบกับค่าใช้จ่ายทางตรง (มูลค่าแรงงานและวัสดุโดยตรง) ซึ่งการประเมินราคาด้วยวิธีนี้ ใช้งานได้ดีในเฉพาะโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย แต่สำหรับโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายนั้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตมีบทบาทและส่งผลกระทบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่อง (setup), วัสดุทางอ้อม (indirect material) หรือค่าใช้จ่ายในการออกแบบ เป็นต้น จนทำให้การประเมินราคาด้วยวิธีดั้งเดิมนั้นไม่มีความแม่นยำ

ABC จึงเป็นวิธีการใหม่เพื่อชดเชยจุดอ่อนของวิธีดั้งเดิม โดยการประเมินราคาจากกิจกรรมต่างๆ ทั้ง การระบบผลิต และระบบการเงิน ที่ข้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ

หลักการของ ABC

ABC นั้น มีสมมติฐานที่ทรงความสำคัญอยู่ 2 ประการ

ทรัพยากรจะถูกใช้เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้น
กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่มีเป้าประสงค์เพื่อผลิตสินค้าให้สมบูรณ์
เมื่อใดที่ควรนำระบบ ABC ไปใช้
มีหลักอยู่ 2 ข้อที่จะชี้ได้ว่า เมื่อใดคือโอกาสที่ดีที่สุดที่ควรจะนำระบบนี้เข้าไปใช้ในองค์กร

1.กฎของ วิลลี สุทตัน (The Willie Sutton's Rule) หลักข้อนี้ได้มาจากคำตอบของ วิลลี สุทตัน โจรปล้นธนาคารชาวอเมริกัน-ไอริช ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพอาชญากรรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 (ระหว่าง พ.ศ. 2493–2503) ในอเมริกา โดยเขาตอบคำถามถึงสาเหตุที่เขาปล้นธนาคารว่า "เพราะที่นั่นมีเงินนะสิ" ซึ่งแนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อมองหากิจกรรมที่ใช้ค่าโสหุ้ยสูงที่สุด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ ค่าใช้จ่ายโดยตรงว่า มีอัตราส่วนมากน้อยแค่ไหน ส่งผลกระทบต่อความถูกต้องของราคาสูงหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ควรจะเปลี่ยนจากระบบเดิมมาสู่ ABC

2.กฎความหลากหลายสูง (The High Diversity Rule) กฎข้อนี้มุ่งไปที่สภาวการณ์ขององค์กรว่า มีผลิตภัณฑ์หลากชนิดหรือไม่ มีขนาดของล๊อตสินค้าที่ต้องผลิตที่เปลี่ยนแปลงบ่อยหรือไม่ มีรูปแบบการผลิตที่หลากหลายหรือไม่ ถ้าใช่ องค์กรนั้นก็ควรจะใช้ระบบ ABC

ที่มา https://th.wikipedia.org

COQ คืออะไร

ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพ(Cost of Quality : COQ)เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

แนวคิด และ หลักการ

ในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หลายๆองค์กรทั้งทางภาคการผลิตและบริการ ต่างพยายามนำพาธุรกิจของตนเองให้อยู่รอด มีการปรับตัวโดยมุ่งสู่ผลกำไรและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ การนำพาองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จในการสร้างผลกำไรโดยการเพิ่มยอดขายทำได้ลำบากในภาวะที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน แต่อีกแนวทางหนึ่งที่ทุกองค์กรสามารถดำเนินการได้ทันที คือ การลดต้นทุน

ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ) หมายถึง 

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดคุณภาพ โดยต้นทุนคุณภาพจะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการวัดประสิทธิภาพการบริหารคุณภาพ

จากการศึกษาโดยการเปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ตลอดทั้งปีขององค์กรเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ จะพบว่ามีต้นทุนการดำเนินงาน (Operating cost) อยู่ถึงประมาณ 90% ทำให้องค์กรมีกำไรเหลืออยู่ประมาณ 10 %เท่านั้น และถ้าวิเคราะห์ต่อไปจะพบว่าในต้นทุนค่าดำเนินงานนั้นมี ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) แฝงอยู่ประมาณ 20-40% ซึ่งได้แก่ ต้นทุนจากของเสีย งานซ่อมงานแก้ไข เครื่องจักรมีปัญหา ต้นทุนการตรวจสอบป้องกัน ต้นทุนการจัดการข้อร้องเรียน และ ค่าเสียโอกาส เป็นต้น





โครงสร้างของต้นทุนคุณภาพ

จากแนวคิดนี้ ถ้าองค์กรสามารถปรับลดต้นทุนคุณภาพลงได้ ก็จะไปเพิ่มสัดส่วนของกำไร ดังนั้นธุรกิจสมัยใหม่จึงมีการนำระบบต้นทุนคุณภาพมาใช้ เพื่อวัดมูลค่าของต้นทุนคุณภาพ โดยเปรียบเทียบกับยอดขาย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการแก้ไขลดต้นทุนคุณภาพที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง การลดต้นทุน โดยไม่ลดคุณภาพจึงเป็นการเพิ่มกำไรให้กับองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเพิ่มผลผลิตทั่วทั้งองค์กร และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในยุคปัจจุบัน




ที่มา:http://www2.ftpi.or.th/th/prdsrv_cns_prd_coq.htm

HACCP คืออะไร

HACCP คืออะไร


HACCP คือ ระบบการการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
(Hazard Analysis and Critical Control Point)

 คณะกรรมการอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า Codex ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้พัฒนามาตรฐานอาหาร แนวทางและข้อแนะนำต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม และ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค

ทำไมต้องจัดทำระบบ HACCP

คณะกรรมการอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า Codex ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้พัฒนามาตรฐานอาหาร แนวทางและข้อแนะนำต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม และ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค จากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งในปัจจุบันองค์กรการค้าโลก (WTO) ได้ใช้เป็นหลักอ้างอิง ในการดำเนินการทางการค้าระหว่างประเทศ ในส่วนของการรับรองความปลอดภัยด้านสุขภาพของผู้บริโภค และ การคุ้มครองการกีดกันทางการค้า โดย Codex ได้ร่วมแนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขึ้น ปัจจุบัน HACCP ถูกใช้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร และหน่วยงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจาก Codex ได้พัฒนาขึ้นโดยประเทศสมาชิก 160 ประเทศ ดังนั้นระบบคุณภาพ HACCP จึงได้มีการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในการประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ

คณะกรรมการอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า Codex ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้พัฒนามาตรฐานอาหาร แนวทางและข้อแนะนำต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม และ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค จากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งในปัจจุบันองค์กรการค้าโลก (WTO) ได้ใช้เป็นหลักอ้างอิง ในการดำเนินการทางการค้าระหว่างประเทศ ในส่วนของการรับรองความปลอดภัยด้านสุขภาพของผู้บริโภค และ การคุ้มครองการกีดกันทางการค้า โดย Codex ได้ร่วมแนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขึ้น ปัจจุบัน HACCP ถูกใช้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร และหน่วยงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจาก Codex ได้พัฒนาขึ้นโดยประเทศสมาชิก 160 ประเทศ ดังนั้นระบบคุณภาพ HACCP จึงได้มีการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในการประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร

HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) คือระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเพื่อควบคุมอันตราย ณ จุดหรือขั้นตอนการผลิตที่อันตรายเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นจึงสามารถประกันความปลอดภัยของอาหารที่ยอมรับกันว่าสามารถป้องกันอันตรายและสิ่งปนเปื้อนได้ดีกว่าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายหรือควบคุมคุณภาพที่ใช้กันอยู่เดิม โดยระบบ HACCP จะเน้นการควบคุมกระบวนการผลิตในจุดหรือขั้นตอนที่สำคัญที่สามารถประยุกต์วิธีการควบคุมเข้าไปใช้ได้ โดยพิจารณาตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง จนถึงผู้บริโภค นอกจากนั้นระบบ HACCP ยังมีศักยภาพในการระบุบริเวณหรือขั้นตอนการผลิตที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ แม้ว่าจุดหรือในขั้นตอนดังกล่าวจะยังไม่เคยเกิดอันตรายมาก่อนซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (Good Manufacturing Practice: GMP ตาม Codex) และการจัดระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazards Analysis and Critical Control Points System: HACCP)


ระบบ HACCP และระบบ GMP มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก กล่าวคือ ระบบ HACCP มุ่งเน้นการควบคุมกระบวนการผลิตโดยเฉพาะขั้นตอนที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นจุด CCP ในขณะที่ระบบ GMP จะเน้นในเรื่องของการจัดการด้านสุขลักษณะของอาคาร สถานที่การผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ และควบคุมกระบวนการผลิตดังนั้นก่อนที่จะประยุกต์ใช้ระบบ HACCP โรงงานต้องมีความพร้อมในเรื่องของโปรแกรมพื้นฐานหรือ GMP รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตประเภทนั้นๆ

หลักการของ ระบบ HACCP ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 7 ประการ สรุปได้ดังนี้ คือ


หลักการที่ 1 : การวิเคราะห์อันตราย (Conduct a Hazard Analysis)
หลักการที่ 2 : กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Point; CCP)
หลักการที่ 3 : กำหนดค่าวิกฤต (Establish Critical Limits)
หลักการที่ 4 : กำหนดระบบตรวจติดตามเพื่อควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a System to Monitor Control of the CCP)
หลักการที่ 5 : กำหนดการแก้ไข (Establish the Corrective Action)
หลักการที่ 6 : กำหนดการทวนสอบ (Establish Procedures for Verification)
หลักการที่ 7 : กำหนดระบบเอกสารและการเก็บบันทึกข้อมูล (Establish Documentation and Record Keeping)

ประโยชน์ของการจัดทำระบบ HACCP


เป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยมีการควบคุมการผลิตในการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย เน้นที่การป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
สามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับโรงงาน โดยมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ
เพิ่มอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า
เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์
ลดภาระค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยเฉพาะคุณภาพด้านความปลอดภัย
เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอรับการรับรองได้
เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบคุณภาพ ISO 9000

วิธีการ

การตรวจสอบระบบเบื้องต้น (Initial System Survey) โดยทำการประเมินสถานภาพของบริษัทเบื้องต้นว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องกับระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม มอก.7000 มากน้อยเพียงใด
การฝึกอบรม (Training) ดำเนินการฝึกอบรมให้บุคลากรในองค์กรของท่านทราบถึงความสำคัญของระบบ HACCP และข้อกำหนดมาตรฐาน
การพัฒนาระบบเอกสาร (Document Preparation) ของระบบ HACCP
การนำระบบเอกสารไปปฏิบัติ (Implementation)
การประเมินระบบก่อนการขอใบรับรอง (Pre-assessment) ทีมวิทยากรที่ปรึกษาของสถาบันดำเนินการประเมินระบบก่อนการขอใบรับรอง

โครงการการให้คำปรึกษาแนะนำและฝึกอบรมด้าน GMP/HACCP เหมาะสำหรับ


ผู้บริหารที่รับผิดชอบระบบ GMP ผู้จัดการระบบ GMP ผู้ที่ต้องการปรับปรุงและคงไว้ซึ่งหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (GMP ตาม Codex) ผู้ที่ดูแลด้านการจัดการสุขลักษณะอาหาร เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ และผู้สนใจทั่วไป

ความพร้อมของบุคลากรสถาบัน


ผู้ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านระบบ GMP และระบบ HACCP เป็นอย่างดีโดยมีประสบการณ์โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
พร้อมกับมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแนะนำระบบบริหารจัดการอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9001) ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)


ที่มา : http://www.ftpi.or.th/th/prdsrv_cns_iso14000.htm
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กฤชกร
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/82228

GMP คืออะไร

GMP (Good Manufacturing Practice) คืออะไร


   GMP (Good Manufacturing Practice) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ CODEX GMP ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือไม่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีหลักการเนื้อหาครอบคลุม 7 ประการ ดังนี้

หลักการของระบบ GMP


            1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 
            2.เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต       
            3.การควบคุมกระบวน การผลิต 
            4.ระบบการจัดการหลังจากที่พบว่าสินค้า ไม่ได้มาตรฐาน 
            5.การสุขาภิบาล 
            6.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
            7.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน


ข้อดีเด่นของมาตรฐาน GMP คือ 

   มาตรฐาน GMP เน้นความปลอดภัยในแต่ละตัวของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์จากนักวิชาการทั่วโลก เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับจากผู้บริโภค ดังนั้นเมื่อปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดก็จะได้อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยมากที่สุด โดยกระบวนการทำงานมีการตรวจสอบในทุกๆ ขั้นตอนการผลิตอาหารสัตว์ ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบจนถึงจัดส่งถึงมือลูกค้า ดังแสดงในภาพที่ 1

                    QC วัตถุดิบ                QC ระหว่างการผลิต                      QC อาหารสำเร็จรูป
                  ภาพที่ 1 กระบวนการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบก่อนและหลังผลิตอาหารสัตว์



GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ต่อไป เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารสัตว์ หรือ HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นระบบมาตรฐานที่จำเป็นในการผลิตอาหารสัตว์ เป็นระบบที่ได้รับการส่งเสริม และสามารถขอการรับรองระบบโดย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปัจจุบันพบว่าโรงงานอาหารสัตว์และกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้รับการรับรองระบบโดยกรมปศุสัตว์ 145 โรงงาน ที่ได้รับมาตราฐาน GMP และ 55 โรงงานที่ได้รับมาตราฐาน HACCP

ทำไมต้องทำมาตรฐาน GMP ?


มาตรฐาน GMP มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม อันตราย ทั้ง 3 ประเภท คือ 
1. อันตรายทางด้านกายภาพ ได้แก่ เศษไม้ เศษแก้ว เศษโลหะต่างๆ และวัสดุอื่นๆ 
2. อันตรายทางด้านเคมี ได้แก่ สารฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีฆ่าเชื้อ น้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งสารพิษที่เกิดขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมีการเก็บรักษาที่ไม่ดี เช่น Aflatoxin ในกากถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสารพิษจากเชื้อราในอาหารและอาหารสัตว์เป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ปี 2525 ว่าด้วยมาตรฐานสารพิษจากเชื้อราชนิด Aflatoxins ในอาหารสัตว์ 
3. อันตรายทางด้านจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ส่งผลให้อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ

ระดับ Aflatoxin ในอาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ


ประเภทวัตถุดิบ  (มคก./กก.) ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว (มคก./กก.) ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว (มคก./กก.)
ปลาป่น มากกว่า 40
ข้าวโพดป่น/เมล็ด มากกว่า 100
กากถั่วเหลือง มากกว่า 50
รำข้าว มากกว่า 50
หัวอาหารไก่/สุกร มากกว่า 50
หัวอาหารเป็ด มากกว่า 40
หัวอาหารโค/กระบือ มากกว่า 100
อาหารไก่เนื้อ/ไก่ไข่ มากกว่า 100
อาหารเป็ด มากกว่า 30
อาหารสุกรน้ำหนักไม่เกิน 15 กก. มากกว่า 50
อาหารสุกรน้ำหนักเกิน 15 กก. มากกว่า 100
อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพมีลักษณะอย่างไร

มีเชื้อ Salmonella
มีเชื้อแบคทีเรีย มากกว่า 8x106 โคโลนี/กรัม
มีเชื้อรา มากกว่า 1x105 โคโลนี/กรัม
มี Aflatoxin เกินระดับที่กำหนด
จัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในการผลิตอาหารสัตว์ทำอย่างไร ?

1.ตรวจสอบทางกายภาพและตรวจสอบทางเคมี

 

 2.การควบคุมกระบวนการผลิต

 

3.การทำความสะอาดเครื่องจักร


 4.การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค เช่น นก หนู และสัตว์พาหะอื่นๆ


 5.การควบคุมการขนส่ง


 6.การสุขาภิบาลที่ดี



ประโยชน์ของ GMP คืออะไร


ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
เป็นแนวทางการผลิตเพื่อประกันว่าการผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพปลอดภัย ตรงตามมาตรฐานที่กาหนด และผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอในทุก Lot ของการผลิต
สามารถลดข้อผิดพลาด หรือความเบี่ยงเบนที่จะผลิตไม่ได้มาตรฐาน
ป้องกันมิให้มีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคณภาพ รวมทั้งการขจัดปัญหา มิให้ เกิดซ้ำซ้อน
ส่งผลต่อคุณภาพอาหารสัตว์ที่ดีในระยะยาว และช่วยลดต้นทุนการผลิต

ที่มา: http://www.jbf.co.th/index.php/2012-11-13-08-45-03/86-gmp-good-manufacturing-practice

OHSAS 18001 คืออะไร

ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001)


OHSAS 18001  คืออะไร 


OHSAS 18001 คือ  ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งจัดทำสถาบันมาตรฐานของอังกฤษ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใน การจัดการปัญหาความปลอดภัยและสุขภาพเกี่ยวกับอาชีพ

หลักการของมาตรฐาน OHSAS 18001

ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001เป็นระบบที่ช่วย ป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของบุคลากร  เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ยังช่วยเปิดโอกาส ในการดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าที่คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของบุคลากรในบริษัทคู่ค้า   และช่วยเสริมสร้างทัศนะคติของผู้ปฏิบัติงาน และปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานของ ภายในองค์กรให้ปลอดภัยมากขึ้น

ประโยชน์จากการใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001 


1. รักษาและป้องกันชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุอันอาจเกิดขึ้นในองค์กร

2. เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอุบัติเหตุ และภาวะฉุกเฉินก่อนที่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น  ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินน้อย

3. สร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานให้เกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยต่อชีวิตการ ทำงานในองค์กร ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิต

4. ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรต่อสังคม  ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถนำไปใช้ในการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้าง ภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นและเป็นที่ยอมรับ ในสังคม

5. เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขันทางด้านการค้าในตลาดโลก ลดรายจ่ายเงิน ทดแทนในการรักษาพยาบาลและลดอัตรากรมธรรม์ประกันภัย  อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุและ เหตุการณ์ฉุกเฉินในองค์กร

ระยะเวลาในการเริ่มจัดทำระบบ

การนำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001 ไปประยุกต์ใช้ใน องค์กรอาจใช้เวลาโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 3-6 เดือน ขึ้นกับความระบบการจัดการที่ใช้ดำเนินงานอยู่ ในปัจจุบัน  รวมถึงความซับซ้อนขององค์กร  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจาก ผู้บริหารระดับสูง ทั้งในเรื่องเวลาและทรัพยากรต่างๆ  จิตสำนึกด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย ความร่วมมือของบุคลากรในองค์กร  และความเพียงพอของงบประมาณ

ขั้นตอนในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001

ในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001 ประกอบด้วย ขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนคือ

1. การทบทวนสถานภาพปัจจุบันขององค์กร
เป็นการทบทวนระบบเอกสาร  ระบบบริหารจัดการ  รวมถึงช่องว่างในการบริหารจัดการของ องค์กรในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับความสอดคล้องของการดำเนินงานเมื่อเทียบกับ ข้อกำหนดของระบบ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001

2. การจัดทำระบบเอกสาร
คณะทำงานต้องจัดทำระบบเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยคู่มืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน  และคู่มือในการทำงาน  เพื่อใช้สื่อสารและฝึกอบรมทำความเข้าใจกับ บุคลากรทุกระดับ

3. การนำเอกสารระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปปฏิบัติ
เป็นการนำเอกสารตามขั้นตอนที่ 2 ไปปฏิบัติ เพื่อทวนสอบความสมบูรณ์ของเอกสารและ ทวนสอบถึงความเพียงพอของเอกสาร  รวมถึงการตรวจวัดคุณภาพและการจัดการความ เสี่ยงทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่เกิดขึ้นในองค์กร

4. การตรวจสอบระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001  โดยตรวจสอบการดำเนินงาน ตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งหมดว่าระบบที่จัดทำขึ้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด  รวมถึงการปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องจากการดำเนินงานทั้งหมด

ที่มา: http://www.cpl-consult.com/Management%20system/OHSAS18001.html

ISO / TS 16949 หมายถึง

ISO/TS 16949 ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกมีความต้องการในระดับระดับโลกของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันเช่นเดียวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ผู้ผลิตรถยนต์จำนวนมากยืนยันว่าซัพพลายเออร์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการที่มีคุณภาพสำหรับซัพพลายเออร์เพื่อภาคยานยนต์ที่เรียกว่า ISO / TS 16949

ISO/TS 16949 คืออะไร


มาตรฐาน ISO / TS 16949 เป็นข้อกำหนดทางเทคนิค ISO ที่มีอยู่ซึ่งสอดคล้องสหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, มาตรฐานระบบคุณภาพยานยนต์ฝรั่งเศสและอิตาลีในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งระบุความต้องการของระบบที่มีคุณภาพสำหรับการออกแบบ / พัฒนาการผลิตการติดตั้งและการบริการของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่เกี่ยวข้อง.
ISO / TS 16949 ได้รับการพัฒนาโดยอุตสาหกรรม  ยานยนต์นานาชาติกองเรือรบ (IATF) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทั้งในห่วงโซ่อุปทานและกระบวนการรับรอง ในความเป็นจริงสำหรับส่วนใหญ่ของผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำที่ได้รับการรับรองข้อกำหนดนี้เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้สำหรับการทำธุรกิจ
ซึ่งสอดคล้องและข้อกำหนดที่มีอยู่แทนที่สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, ฝรั่งเศสและอิตาลีมาตรฐานระบบคุณภาพยานยนต์รวมทั้ง QS-9000, VDA6.1, EAQF และ ASQ ซึ่งระบุความต้องการของระบบที่มีคุณภาพสำหรับการออกแบบ / พัฒนาการผลิตการติดตั้งและการบริการของผลิตภัณฑ์ยานยนต์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ตีพิมพ์ครั้งแรกมีนาคม 1999 และปรับปรุงในปี 2002 และในปี 2009 ขณะนี้มีกว่า 47,500 ใบรับรองที่ออกในพื้นที่สามธุรกิจหลักของอเมริกายุโรปเอเชีย
ISO / TS 16949เกี่ยวข้องกับทุกประเภทของ บริษัท จัดหายานยนต์จากผู้ผลิตขนาดเล็กหลายเว็บไซต์, องค์กรข้ามชาติอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก แต่ก็เป็นเฉพาะกับเว็บไซต์ที่มีการผลิตหรือบริการที่มีการผลิตชิ้นส่วนสำหรับตลาดอุปกรณ์เดิม
องค์กรที่ต้องการเจาะเข้าสู่ตลาดรถยนต์จะต้องรอจนกว่าพวกเขาจะอยู่ในรายชื่อผู้จัดจำหน่ายลูกค้ายานยนต์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะสามารถดำเนินการที่มีการรับรองข้อกำหนดนี้

ISO / TS 16949 ของคุณในตอนนี้เป็นอย่างไร

ไม่ว่าคุณจะใหม่กับ ISO / TS 16949  หรือที่ต้องการใช้ความเชี่ยวชาญของคุณต่อไปเรามีหลักสูตรการฝึกอบรมที่เหมาะสมทรัพยากรและบริการ เราขอเสนอแพคเกจบริการที่สามารถปรับแต่งเพื่อให้ธุรกิจของคุณในการก้าวสู่สุขภาพและความปลอดภัยการจัดการของคุณ - ตัดค่าใช้จ่ายของบริการที่คุณไม่จำเป็นต้อง ISO / TS 16949 แพคเกจที่กำหนดเอง ISO / TS 16949 ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของการได้รับคุณที่คุณต้องการที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของคุณ

1. การเริ่มต้น

กับ ISO / TS 16949
ค้นหาสิ่งที่หมายถึงการจัดการที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมยานยนต์และทำไม ISO / TS 196949 เป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ
การเริ่มต้นกับ ISO / TS 16949

2.การดำเนินการ

ในระบบ ISO / TS 16949
ค้นพบวิธีในการดำเนินการ ISO / TS 16949 ระบบการจัดการที่มีคุณภาพในทางที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ และหาวิธีการที่เราสามารถช่วยให้คุณ
การดำเนินการ

3.การรับรอง

ISO/TS 16949
รับการประเมินที่ยุติธรรมและได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO / TS 16949 และแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังใช้การปฏิบัติที่ดีที่สุด
การรับรองสำหรับ ISO/TS 16949

4.การรักษา

ISO/TS 16949 ในระบบของคุณ
ค้นหาวิธีการที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก ISO / TS 16949 ระบบการจัดการหลังการรับรอง
การรักษา ISO/TS 16949

ประโยชน์ของ ISO/TS 16949 คืออะไร


- รับใบอนุญาตเพื่อการค้าต่างประเทศและการขยายธุรกิจของคุณ
- การปรับปรุงกระบวนการในการลดของเสียและป้องกันข้อบกพร่อง
- ต้องการออกใบรับรองทวีคูณสำหรับการผลิตยานพาหนะบูรณาการ ISO / TS 16949 กับระบบการจัดการอื่น ๆ
- แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามที่จะชนะธุรกิจและการลงทุนโอกาสใหม่

ที่มาจาก : http://www.bsigroup.com/en-TH/About-BSI/

ISO 14000 หมายถึง

มาตรฐาน ISO 14000

               ปัจจุบันทั่วโลกได้มีการเคลื่อนไหว  เพื่อการบำรุงรักษาและการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม  และปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในขณะนี้วิกฤตเกินกว่าที่จะใช้มาตรการระดับประเทศมาแก้ไข   แต่เป็นปัญหาของโลกที่ทุกประเทศต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาซึ่งรวมทั้งภาครัฐบาลและเอกชน  โดยการวางมาตรฐานและปรัชญาในการพัฒนาด้านต่างๆ  ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม  ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจและหลายองค์การได้รับความกดดันให้มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากการเรียกร้องให้มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในระดับประเทศ  ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศเพื่อให้มีหลักเกณฑ์เดียวกันสำหรับใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
                องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ( The International Organization for Standardization ISO) ก็ได้รับการเรียกร้องจากบรรดาประเทศสมาชิกในเรื่องดังกล่าวและได้มีการดำเนินการเพื่อจัดวางระบบมาตรฐานใหม่คือ ISO 14000   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนะนำหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management System EMS) ซึ่งสามารถรวมเข้ากับระบบบริหารอื่นๆ ของหน่วยงานเพื่อที่จะช่วยให้หน่วยงานเหล่านั้นประสบความสำเร็จในเรื่องของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมพร้อมไปกับความสำเร็จทางธุรกิจ
                ระบบ EMS มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวางแผนงานและการดำเนินงานการบริหารขององค์การอย่างมาก  ในการที่องค์การนั้นๆ  จะบรรลุความสำเร็จในแผนงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมตามีที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่   ระบบการบริหารในที่นี้หมายรวมถึงหน่วยงานนั้นมีการจัดวางผังองค์การอย่างไร  ระดับผู้จัดการ  พนักงานและคนงาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร การวางแผนการใช้ทรัพยากรและการประเมินผลงานเป็นอย่างไร  ระบบการบริหารนี้ควรมีส่วนส่งเสริมให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ  การบริหารที่มีคุณภาพและมีผลกำไรที่เหมาะสม   อย่างไรก็ตาม  มีหน่วยงานเพียงน้อยรายที่มีระบบการบริหารที่มีส่วนส่งเสริมต่อระบบ EMS  การใช้ระบบ EMS จะมุ่งเน้นในเรื่องของระบบการจัดการที่จะเอื้ออำนวยให้มีการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

ISO 14000 คืออะไร
                การเตรียมการในเรื่องมาตรฐาน ISO 14000 ได้เริ่มดำเนินการในปี 1993 (2536)  โดยคณะกรรมการวิชาการ ISO ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ISO/TC 207 ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับมาตรฐานนานาชาติในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการ ISO/TC 207 ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการทางวิชาการมากกว่า 20 คณะ และคณะทำงานซึ่งรับผิดชอบในเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและในปี 2538  คณะอนุกรรมการคณะต่างๆ ได้พิจารณาร่างมาตรฐานรวม 5 ฉบับแล้วเสร็จ  และส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบแล้ว
                มาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม  เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้องค์การมีการจัดตั้งระบบการบริหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ
                ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นแกนกลางที่สำคัญของมาตรฐาน ISO 14000 และจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารทั้งหมด เช่นเดียวกับการบริหารธุรกิจรวมทั้งโครงสร้างขององค์การ  ความรับผิดชอบในการทำงานขั้นตอนกระบวนการ  และการจัดการทรัพยากร  เพื่อกำหนดและนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การนั้นๆ ไปปฏิบัติ  โดยมุ่งที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
                มาตรฐาน ISO 14000  จะครอบคลุมถึงการฝึกอบรมพนักงาน  การจัดการด้านความรับผิดชอบ  และระบบต่างๆที่ต้องทำงาน มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วย
                ISO 14000            -  หลักเกณฑ์ทั่วไปของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
                ISO 14001,14004-  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
                ISO 14010,14012-  การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
                ISO 14031            -  การตรวจสอบพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
                มาตรฐาน ISO 14000  นี้เป็นมาตรฐานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรต่างๆ  นำไปใช้ในลักษณะของการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
                หน่วยงานที่จะรับเอามาตรฐาน ISO 14000  ไปใช้นั้น  สามารถที่จะนำไปใช้โดยทั่วทั้งองค์กร   หรืออาจจะดำเนินการเฉพาะหน่วยย่อยเพียงหน่วยต่างจากความยืดหยุ่นข้อนี้  คาดว่าอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางคงนำไปใช้ได้อย่างประสบผลสำเร็จได้ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ได้ในเดือนกรกฎาคม 2539 นี้

ขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 14000
                ขั้นแรกที่สำคัญคือ  ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต้องมีการประกาศนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม    โดยมีการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์  นโยบายและการดำเนินการเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ขัดกับระเบียบและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
                ขั้นที่สอง  คือการวางแผน  หน่วยงานควรจะมีการตรวจสอบหรือทบทวนการดำเนินงานเพื่อดูผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ตัวอย่างเช่น  โรงงานหล่อโลหะควรมีการวัดมลพิษที่ออกจากปล่องไฟ  โรงงานชุบโครเมี่ยมควรมีการตรวจสภาพน้ำเสียที่เกิดขึ้น  หลังจากที่ได้มีการตรวจสาอบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว  ก็สามารถตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับกฎหมายความต้องการของลูกค้า  การปฏิบัติและความสามารถทางเทคโนโลยี  และค่าใช้จ่ายของการดำเนินการ
                องค์กรจะต้องมีการจัดวางโปรแกรมแผนการปฏิบัติงานซึ่งประกอบด้วยวิธีการและระยะเวลา  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นๆ การจัดสรรทรัพยากรทั้งทางด้านการเงินและบุคลากรแล้ว   การเตรียมการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการตัวอย่างเช่น  โรงงานชุบโครเมี่ยมทราบว่า  ผลกระทบทีสำคัญที่โรงงานกระทำต่อสิ่งแวดล้อม  คือน้ำเสีย  ซึ่งจะประกอบด้วยสารโลหะจำนวนมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด   ทางโรงงานก็ควรจะหาวิธีบำบัดน้ำเสีย   ซึ่งอาจจะเป็นวิธีทางเคมีมาใช้เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม   อย่างไรก็ตามโรงงานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถทางเทคโนโลยีและด้านการเงินด้วย  รวมทั้งความคิดเห็นของลูกค้า กฎหมาย  และวิธีดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม   ก่อนที่จะตั้งเป็นวัตถุประสงค์  หลังจากมีวัตถุประสงค์แล้ว  ก็จัดสรรพนักงานเพื่อรับผิดชอบดำเนินการ
                หลังจากมีการจัดทำนโยบาย  และจัดวางแผนงานแล้ว ขั้นต่อไปคือการดำเนินการเพื่อที่จะให้ประสบความสำเร็จ   ทั้งฝ่ายบริหารและพนักงานต้องถือเป็นภาระผูกพันมีการสื่อสารที่ดี  และการทำให้พนักงานทราบถึงนโยบายของผู้บริหาร  และการยอมรับถึงความสำคัญของการร่วมมือของฝ่ายพนักงานจะเป็นสิ่งสำคัญ  การที่จะได้รับความร่วมมือจากพนักงานค่อนข้างจะเป็นการยากมากในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลาง    เนื่องจากพนักงานจะมีการศึกษาค่อนข้างต่ำ  ถ้าระดับผู้บริหารไม่ใช้มาตรการบังคับก็มีโอกาสน้อยมาก  ที่ระดับคนงานจะให้ความร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อม  ผู้บริหารต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการโน้มน้าวพนักงาน  ซึ่งเป็นลักษณะความแตกต่างระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลาง  และอาจเป็นปัญหาในการจะได้รับใบรับรองของ ISO 14000
                นอกจากนี้  เพื่อสร้างให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับพนักงาน  และสร้างบรรยากาศสำหรับการรักษาสภาพแวดล้อม  นายจ้างควรให้ความรู้และการฝึกอบรมแก่พนักงาน  และชี้แจงให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
                หน่วยงานจะต้องมีการจัดเตรียมบุคลากรและการเงินให้พอเพียงสำหรับการดำเนินงาน  และมีการจัดแบ่งความรับผิดชอบ  มีการวัดการดำเนินงานของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมีการตรวจสอบระบบเป็นระยะๆ   ถ้าการดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็ควรมีวิธีการอื่นมาแทน   และสามารถชี้ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของความเบี่ยงเบนนั้นๆ  และแนะนำมาตรการที่ถูกต้องมาใช้แทน    ผู้ตรวจสอบจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า  ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมอย่างไร  และควรให้ผู้บริหารรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
                สิ่งที่สำคัญที่สุดของมาตรฐาน ISO 14000  ก็คือการที่จะต้องมีการดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง   เหมาะสมและอย่างมีประสิทธิผล  ฉะนั้น ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีการทบทวนและประเมินระบบ EMS และควรจะอยู่ในนโยบายของการรักษาสิ่งแวดล้อม  ซึ่งต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย


ความสำคัญของมาตรฐาน ISO 14000
                มาตรฐาน ISO 14000  เป็นมาตรฐานใหม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งองค์การและบริษัทต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความสมัครใจโดยไม่มีกฎหมายบังคับ  การไม่มีกฎหมายบังคับเช่นนี้  จะทำให้มาตรฐานใหม่นี้มีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร และในขอบเขตแค่ไหน
                มาตรฐาน  ISO 14000  ไม่ต้องใช้กฎหมายเพื่อให้มีผลกระทบต่อธุรกิจโลก   ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้  ทุกคนย่อมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม  เช่น  เมื่อรู้ว่าสารเคมี  ที่ใช้ในตู้เย็น  แอร์  รถ  และในสินค้าหลายๆ อย่างเป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโลก  สังคมก็มีมาตรการตอบสนองทันทีในการไม่ใช้สารนั้นๆ   ถึงแม้ว่าการไม่ใช้สารนั้นจะเป็นผลลำบาก  และทำให้เกิดภาวะขาดทุนต่อธุรกิจเป็นจำนวนมาก
                รัฐบาลไม่ใช่ผู้ที่สนับสนุน ISO 14000  แต่เพียงฝ่ายเดียว  องค์การธุรกิจต่างๆ ก็ต้องดำเนินการตามาตรฐานใหม่นี้อย่างเต็มใจ  บรรดาหน่วยงานธุรกิจต่างๆ ต้องดำเนินการเพราะความกดดันทางธุรกิจ   หน่วยงานที่ไม่สามารถรับมาตรฐาน ISO 14000 ไปใช้ได้   อาจจะประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ   การติดต่อกับสถาบันการเงินเรื่องการขอสินเชื่อเพราะสถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานธุรกิจที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม
                จะเห็นได้ชัดว่า มาตรฐาน ISO 14000  จะเป็นการพัฒนา  และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลสำหรับสังคมธุรกิจในทุกระดับ  ในระดับบริษัท  จะมีผลต่อวิธีดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ ทั้งต่อผู้จัดส่งสินค้า  ผู้รับเหมาช่วงและลูกค้า  และสถาบันการเงิน  นอกจากนี้จะมีผลต่อการดำเนินงานภายในของกระบวนการผลิต  การใช้วัตถุดิบและระบบการบริหาร
                ในระดับอุตสาหกรรม   จะมีผลกระทบอย่างมากสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถรับเอามาตรฐานสิ่งแวดล้อมไปใช้ได้  มาตรฐาน ISO 14000  ยังสามารถทำให้เกิดอุตาสาหกรรมชนิดใหม่ขึ้นเพื่อทดแทนสารที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม  สารที่เป็นอันตรายจะถูกกำจัดออกไปและมีการคิดค้นสารใหม่ขึ้นมาใช้แทน
                ในระดับประเทศ  มาตรฐาน ISO 14000 จะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ  เราจะเห็นว่าบริษัทต่างๆ  พยายามให้บริษัทคู่ค้าของคนคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  โดยจะไม่ดำเนินธุรกิจด้วยหากไม่มีการดำเนินการรักษาสิ่งแวดล้อมและในทำนองเดียวกัน   ถ้าประเทศไหนไม่นำมาตรฐาน ISO 14000  เข้าไปใช้ก็จะพบกับปัญหา  และไม่เป็นที่ยอมรับในการดำเนินธุรกิจกับประเทศอื่น  และสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่จะได้รับ

                อาจจะกล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายในการบรรลุความสำเร็จในการได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO 14000  จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานนั้นๆ ด้วย เนื่องจากมาตรฐาน ISO 14000  ยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ  จึงยังไม่ทราบถึงค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้  อย่างไรก็ตามมาตรฐาน ISO 14000  จะใช้หลักสำคัญคล้ายกบมาตรฐาน ISO 9000  และทั้งสองมาตรฐานนี้ก็จะเป็นการจัดตั้งระบบบริหารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง  ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน ISO 14000  และมาตรฐาน ISO 9000  จะอยู่ในระดับเดียวกัน  ผลที่ได้จากการดำเนินมาตรฐาน ISO 14000  จะมีมากกว่าสิ่งที่ลงทุนไปอย่างแน่นอน
                ผลประโยชน์ที่ได้รับโดยตรง  คือ การลดการใช้ทรัพยากรด้านวัสดุ  พลังงาน  ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการผลิต ลดความเสี่ยงภัยที่เกิดต่อชุมชนรอบๆ  ผลประโยชน์ทางอ้อมคือ  การเป็นที่ยอมรับของสังคมว่าไม่เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อชุมชน  ลูกค้า และพนักงานมีชื่อเสียงได้รับยกย่องว่าเป็นผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจซึ่งเป็นผลจากการคิดริเริ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

บทสรุป


                ISO 14000   เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ  เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับในสังคมธุรกิจแต่จะไม่เกิดประโยชน์เลยถ้าทุกคนเพียงคำนึงว่าการที่ต้องดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 14000  เพียงเพื่อประโยชน์ทางการค้าเพียงอย่างเดียว   แต่ทุกคน ทุกประเทศ ควรจะรับเอามาตรฐานนี้ไปใช้  เพื่อการปรับปรุงปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง  และเป็นภาระผูกพันของทุกคนในองค์กร  โดยไม่ใช่หวังเพียงใบรับรองจากมาตรฐาน ISO 14000  ว่าเป็นเครื่องหมายทางการค้าเท่านั้น

ที่มาจาก เว็บไซด์ คุณพรจันทร์  ฉันทวศินกุล
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1


ISO 9001 หมายถึง

ISO 9001:2008 ระบบบริหารงานคุณภาพกับการปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นใหม่


    ความเป็นมา

       ที่มาสำหรับมาตรฐานระบบการจัดการที่เป็นสากลที่นำมาใช้ในปัจจุบันมากมายหลายมาตรฐาน

   ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นมาตรฐานระบบการจัดการทางด้านคุณภาพ หรือที่หลายคนทราบคือ ISO 9001

   ปัจจุบัน เป็น เวอร์ชั่น ปี 2000 ซึ่งได้ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เรียกว่า International Organization

   for Standardization และมาตรฐานนี้ได้นำมาใช้ปฎิบัติภายในองค์กรและมีตรวจประเมินเพื่อการ

   รับรองโดยหน่วยงานตรวจรับรองต่าง ๆ สำหรับมาตรฐานระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001

   นี้จะต้องถูกทบทวน โดยคณะกรรมการของ ISO เองอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี

    จากประวัติที่ผ่านมา

        การทบทวนมาตรฐานนี้จะเป็นในแนวทางที่จะทำให้องค์กรต่างที่ต้องการจะนำข้อกำหนดใน

   มาตรฐานระบบการจัดการทางด้านคุณภาพนี้ ไปปฎิบัติมีความชัดเจนมากขึ้นของข้อกำหนดและสามารถ

   ตีความและนำไปประยุกต์ให้เข้ากับงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และในการ

   ทบทวนที่ผ่านมามีเกิดขึ้นแล้ว ในก่อนหน้านี้ หนึ่งครั้ง คือจาก เวอร์ชั่น 1994 ไปเป็นเวอร์ชั่น 2000

   ในช่วงนั้นการทบทวนมีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดที่สำคัญมีดังนี้

        1. มีข้อกำหนดที่ชัดเจนในการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายทางด้านคุณภาพที่ชัดเจนในพื้นที่,

            หน่วยงาน หรือองค์กรที่นำระบบการจัดการทางด้านคุณภาพนี้ไปใช้

        2. มีการกำหนดให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่ชัดเจน โดยเป็นการปรับปรุงที่เป็นผลมาจาก

            การวิเคราะห์ ทางด้านวัตถุประสงค์เป้าหมายทางด้านคุณภาพ, การสำรวจวัดผลความพึงพอใจ

            ของลูกค้า และการแก้ไขป้องกันต่างๆที่เกิดจากปัญหาในการควบคุมกระบวนการและการ

            ตรวจสอบและตรวจวัดสำหรับสินค้าหรือบริการตามมาตรฐานที่ระบุไว้ สิ่งที่ได้จากการ

            วิเคราะห์ คือ สาเหตุที่เป็นรากหญ้าของปัญหาและแนวทางปรับปรุงในระบบต่อไป

        3. โดยสรุป มาตรฐาน ISO 9001 เวอร์ชั่น 2000 มุ่งเน้นการนำมาตรฐานไปปฎิบัติเพื่อให้เกิด

            ประโยชน์สูงสุดในแนวคิดของระบบการจัดการมากขึ้น ซี่งได้แก่ การวางแผน, การนำไปปฎิบัติ,

            การตรวจเช็คและวัดผล และการแก้ไขป้องกันรวมถึงการทบทวนเพื่อวางแผนปรับปรุงออกไปใหม

    แนวคิด ISO 9001 เวอร์ชั่นใหม่ 2008 ที่กำลังทบทวนกันสำหรับมาตรฐาน
   การจัดการทางด้านคุณภาพ

        ในปัจจุบัน มาตรฐาน ISO 9001เวอร์ชั่น 2008 ได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่

   15 พฤศจิกายน 2551 ประมาณการว่ามีใบรับรอง ISO 9001 มากกว่า 1 ล้านฉบับทั้งอุตสาหกรรม

   การผลิตและบริการใน 170 ประเทศ ทั้งนี้มาตรฐานฉบับใหม่ (ISO 9001:2008, 4th edition)

   ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการตรวจประเมินระบบการจัดการใหม่ (recertification) เนื่องจากเนื้อหา

   ของข้อกำหนดเป็นเพียงการขยายความในบางข้อให้มีความชัดเจนทั้งในด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้าเพื่อ

   สะท้อนถึงการพัฒนาระบบคุณภาพจากมาตรฐานฉบับเดิม รวมทั้งเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับ

   ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ด้วย สำหรับแนวทางในการประยุกต์ใช้

   ข้อกำหนดซึ่งปัจจุบันอ้างอิงจากมาตรฐาน ISO 9004:2000 ก็อยู่ระหว่างการปรับปรุงและคาดว่า

   จะประกาศใช้ในปี 2009 รายละเอียดการปรับเปลี่ยนที่สำคัญบางข้อกำหนดมีดังต่อไปนี้

    ข้อกำหนด การปรับเปลี่ยน

        4.1 มีการระบุที่ชัดเจนถึงกระบวนการที่ มีการจ้างผลิตภายนอก โดยการดำเนินการผลิตหรือบริการ

        ในแบรนด์ของบริษัทที่ว่าจ้างเองหรือบริษัทที่นำระบบไปปฎิบัติ

        4.2.1 การระบุเอกสารในระบบที่ชัดเจนที่จำเป็นต้องมีอย่างน้อยในระบบบริหารงานคุณภาพ เช่น

        เอกสารหรือระเบียบปฎิบัติ งานสำหรับการควบคุมเอกสาร, การควบคุมบันทึก, การแก้ไข,

        การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด, และการตรวจติดตามภายใน

        4.2.3 ความชัดเจนของ การอ้างอิง ถึงเอกสารภายนอกที่จำเป็นที่ใช้ในระบบบริหารงานคุณภาพ

        6.2 การกำหนดความจำเป็นในการดำเนินการให้พนักงานที่ปฎิบัติงานกระทบทางด้านคุณภาพ

        มีความสามารถในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม หรือการประเมินปฎิบัติงาน

        6.3 การซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่รวมถึง อุปกรณ์ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

        6.4 การควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอื่น เช่น เสียง, อุณหภูมิ

        และความชื้น

        7.3.1 กระบวนการออกแบบที่ชัดเจน ของ การทบทวนการออกแบบ การยืนยันและการรับรอง

        การออกแบบ ที่แยกกิจกรรมกันอย่างชัดเจน

        7.5.2 การรับรองกระบวนการผลิตหรือการบริการ ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบ ในกระบวนการ

        ขั้นสุดท้ายได้ ดั้งนั้นการที่รวบรวมผลการควบคุมในกระบวนการต่างเพื่อที่จะรับรองว่าผลิตภัณฑ์

        หรือกระบวนการนั้นได้รับการผลิตหรือบริการเป็นไปตามมาตรฐาน,ข้อตกลงกับลูกค้าและข้อกำหนด

        ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

        7.6 การสอบเทียบเครื่องมือวัดที่รวมถึงการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่แสดงผลผ่านทางโปรแกรม

        ซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัดในกระบวนการผลิตหรือบริการที่มีคุณภาพ

        8.2.3 การระบุถึงการตรวจวัดและตรวจเช็ค ดัชนีชี้วัดในการควบคุมกระบวนการผลิตและบริการ

        ที่มีผลกรระทบทางด้านคุณภาพ

        8.2.4 การจัดเก็บรักษาหลักฐานที่แสดงความสอดคล้องในกระบวนการผลิตและบริการที่สอดคล้อง

        กับเกณฑ์ การตรวจเช็คและตรวจวัดต่าง ๆ

   จากข้อมูลการปรับเปลี่ยนเบื้องต้น จะเห็นว่าข้อกำหนดในมาตรฐานเวอร์ชั่นใหม่นี้ที่มีการปรับเปลี่ยนนั้น

   ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะที่มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องปลีกย่อยมากกว่า หรือที่เรียกว่า Minor change

   สำหรับมาตรฐาน ISO 9001เวอร์ชั่น 2008

    แนวทางการประยุกต์ใช้ ISO 9001:2008 (Implementation guidance
   for ISO 9001:2008)

        แนวทางการประยุกต์ใช้ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้มาตรฐานได้เข้าใจความต่างของฉบับ 2000
   และ 2008 ซึ่งได้อธิบายไว้ในมาตรฐาน Annex B to ISO 9001:2008 มีวัตถุประสงค์ที่จะขยาย

   ความชัดเจนของ ISO 9001:2000 โดยไม่มีข้อกำหนดใหม่เพิ่ม รวมทั้งเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้อง

   กับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ด้วย

        ดังนั้นองค์กรที่ได้รับการรรับรอง ISO 9001:2000 จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบของมาตรฐาน

   ฉบับใหม่ต่อระบบการบริหารคุณภาพขององค์กร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

   - เอกสารและบันทึกที่มีอยู่ขององค์กรไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

   - กระบวนการที่มีอยู่ขององค์กรไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

   - การฝึกอบรมจะเกิดขึ้นในกรณีที่จำเป็น

   - ไม่ส่งผลกระทบการรับรองที่มีอยู่เดิม

   ข้อดีของ ISO 9001:2008

  + เพิ่มความชัดเจนจากมาตรฐานฉบับเดิม

  + ประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ได้ง่าย

  + ยังคงความสอดคล้องกับอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000

  + เพิ่มการขยายความในบางข้อกำหนด

   ผลบังคับใช้ ISO 9001:2000

  - ภายหลังจากมาตรฐาน ISO 9001:2008 ประกาศ / ตีพิมพ์เป็นระยะเวลา 1 ปี ใบรับรอง

    ทั้งหมดที่ออก (ออกใบรับรองครั้งแรกหรือต่ออายุ) จะต้องออกตามมาตรฐาน ISO 9001:2008

  - ภายหลังจากมาตรฐาน ISO 9001:2008 ประกาศ / ตีพิมพ์เป็นระยะเวลา 2 ปี การรับรองมาตรฐาน

    ISO 9001:2000 ถือเป็นอันสิ้นสุด

   แนวทางการดำเนินการปรับมาตรฐานเป็น ISO 9001:2008

  + ทำความเข้าใจกับมาตรฐานฉบับใหม่ โดยใช้ Annex B in ISO 9001:2008 ประกอบ

     ระบบการบริหารคุณภาพที่มีอยู่ต่างจากมาตรฐานใหม่หรือไม่

           + ถ้าไม่แตกต่าง ให้สื่อสารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกถึงข้อสรุปการดำเนินการตาม

              ISO 9001:2008

           + ถ้าแตกต่าง ให้กำหนดผลกระทบที่ได้รับพร้อมแนวทางดำเนินการแก้ไขตามกำหนด

              เวลาเงื่อนไข

  + ใช้หลักการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) ในการดำเนินการปรับมาตรฐาน


ที่มา: ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2008  สถาบันคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง