วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

GMP คืออะไร

GMP (Good Manufacturing Practice) คืออะไร


   GMP (Good Manufacturing Practice) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ CODEX GMP ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือไม่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีหลักการเนื้อหาครอบคลุม 7 ประการ ดังนี้

หลักการของระบบ GMP


            1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 
            2.เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต       
            3.การควบคุมกระบวน การผลิต 
            4.ระบบการจัดการหลังจากที่พบว่าสินค้า ไม่ได้มาตรฐาน 
            5.การสุขาภิบาล 
            6.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
            7.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน


ข้อดีเด่นของมาตรฐาน GMP คือ 

   มาตรฐาน GMP เน้นความปลอดภัยในแต่ละตัวของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์จากนักวิชาการทั่วโลก เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับจากผู้บริโภค ดังนั้นเมื่อปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดก็จะได้อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยมากที่สุด โดยกระบวนการทำงานมีการตรวจสอบในทุกๆ ขั้นตอนการผลิตอาหารสัตว์ ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบจนถึงจัดส่งถึงมือลูกค้า ดังแสดงในภาพที่ 1

                    QC วัตถุดิบ                QC ระหว่างการผลิต                      QC อาหารสำเร็จรูป
                  ภาพที่ 1 กระบวนการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบก่อนและหลังผลิตอาหารสัตว์



GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ต่อไป เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารสัตว์ หรือ HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นระบบมาตรฐานที่จำเป็นในการผลิตอาหารสัตว์ เป็นระบบที่ได้รับการส่งเสริม และสามารถขอการรับรองระบบโดย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยปัจจุบันพบว่าโรงงานอาหารสัตว์และกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้รับการรับรองระบบโดยกรมปศุสัตว์ 145 โรงงาน ที่ได้รับมาตราฐาน GMP และ 55 โรงงานที่ได้รับมาตราฐาน HACCP

ทำไมต้องทำมาตรฐาน GMP ?


มาตรฐาน GMP มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุม อันตราย ทั้ง 3 ประเภท คือ 
1. อันตรายทางด้านกายภาพ ได้แก่ เศษไม้ เศษแก้ว เศษโลหะต่างๆ และวัสดุอื่นๆ 
2. อันตรายทางด้านเคมี ได้แก่ สารฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีฆ่าเชื้อ น้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งสารพิษที่เกิดขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมีการเก็บรักษาที่ไม่ดี เช่น Aflatoxin ในกากถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น สำหรับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสารพิษจากเชื้อราในอาหารและอาหารสัตว์เป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ปี 2525 ว่าด้วยมาตรฐานสารพิษจากเชื้อราชนิด Aflatoxins ในอาหารสัตว์ 
3. อันตรายทางด้านจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ส่งผลให้อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ

ระดับ Aflatoxin ในอาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ


ประเภทวัตถุดิบ  (มคก./กก.) ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว (มคก./กก.) ประเภทวัตถุที่ผสมแล้ว (มคก./กก.)
ปลาป่น มากกว่า 40
ข้าวโพดป่น/เมล็ด มากกว่า 100
กากถั่วเหลือง มากกว่า 50
รำข้าว มากกว่า 50
หัวอาหารไก่/สุกร มากกว่า 50
หัวอาหารเป็ด มากกว่า 40
หัวอาหารโค/กระบือ มากกว่า 100
อาหารไก่เนื้อ/ไก่ไข่ มากกว่า 100
อาหารเป็ด มากกว่า 30
อาหารสุกรน้ำหนักไม่เกิน 15 กก. มากกว่า 50
อาหารสุกรน้ำหนักเกิน 15 กก. มากกว่า 100
อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพมีลักษณะอย่างไร

มีเชื้อ Salmonella
มีเชื้อแบคทีเรีย มากกว่า 8x106 โคโลนี/กรัม
มีเชื้อรา มากกว่า 1x105 โคโลนี/กรัม
มี Aflatoxin เกินระดับที่กำหนด
จัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในการผลิตอาหารสัตว์ทำอย่างไร ?

1.ตรวจสอบทางกายภาพและตรวจสอบทางเคมี

 

 2.การควบคุมกระบวนการผลิต

 

3.การทำความสะอาดเครื่องจักร


 4.การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค เช่น นก หนู และสัตว์พาหะอื่นๆ


 5.การควบคุมการขนส่ง


 6.การสุขาภิบาลที่ดี



ประโยชน์ของ GMP คืออะไร


ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
เป็นแนวทางการผลิตเพื่อประกันว่าการผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพปลอดภัย ตรงตามมาตรฐานที่กาหนด และผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอในทุก Lot ของการผลิต
สามารถลดข้อผิดพลาด หรือความเบี่ยงเบนที่จะผลิตไม่ได้มาตรฐาน
ป้องกันมิให้มีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคณภาพ รวมทั้งการขจัดปัญหา มิให้ เกิดซ้ำซ้อน
ส่งผลต่อคุณภาพอาหารสัตว์ที่ดีในระยะยาว และช่วยลดต้นทุนการผลิต

ที่มา: http://www.jbf.co.th/index.php/2012-11-13-08-45-03/86-gmp-good-manufacturing-practice

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น