วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic Planning)

การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic Planning)


การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆก็ตามเปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง  ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆในใจก่อนคือ ณ ปัจจุบันเราอยู่ที่ไหน?,จุดหมายปลายทางเราคือที่ใด?,เราจะใช้เส้นทางใดในการเดินทาง?   ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมใดๆก็ตามจะประสบความสำเร็จได้ก็จะต้องพบกับคำถามสามข้อเช่นเดียวกับการขับรถคือ
1.         ตำแหน่งหรือสภาวะขององค์กรเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
2.         เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
3.         จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?

คำถามทั้งสามข้อนำมาซึ่งกระบวนการที่เรียกว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategy Planning) ซึ่งจะเป็นคำตอบของคำถามทั้งสามข้อ
1.         ตำแหน่งหรือสภาวะขององค์กรเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
เป็นคำถามที่ต้องการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย คำถามข้อนี้จะช่วยให้วิเคราะห์ถึงความพร้อมก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการดำเนินการ ซึ่งคำตอบทั้งหมดสามารถหาได้โดยการวิเคราะห์SWOT

2.         เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
เป้าหมายของการดำเนินการใดๆก็ตามจะต้องกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์(vision) และพันธกิจ(mission)


3.         จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?
คำตอบของคำถามข้อนี้คือการกำหนด เป้าหมาย(goal),วัตถุประสงค์(objective),กลยุทธ์(strategy),ทรัพยากร(resources) และแผนงาน(planning)ให้ชัดเจน

การวางแผนกลยุทธ์ คืออะไร

การวางแผนกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดา เนินงานขององค์กรใน
ระยะยาวโดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหาร
องค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนา ไปปฏิบัติได้จริงและ
ประเมินผลได้เพื่อสามารถนา ไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์

วางแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
2. องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors)

ข้อดีข้อเสียของการวางแผนทางกลยุทธ์

Brian Boone ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการวางแผนกลยุทธ์เอาไว้ดังนี้

ข้อดี

1.         กำหนดให้ทุกๆคนในองค์กรสามารถดา เนินหน้าที่ไปในจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีจุดหมายที่
2.         แน่นอนชัดเจน
3.         องค์กรจะมีภาพที่กว้างขึ้น มีแผนงานระยะยาวเพื่อดา เนินไปสู่ความเจริญก้าวหน้า การ
4.         ตัดสินใจในนโยบายต่างๆ จะเชื่อมโยง และ สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้
5.         องค์กรจะสามารถตั้งคุณสมบัติ และ แนวทางการทา งานที่ต้องการ ในการคัดเลือกบุคลากร
6.         ในส่วนต่างๆ ที่เหมาะกับแผนงานที่วางเอาไว้
7.         การจัดวางหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละแผนกมีความชัดเจน มีความเหมาะสมกับแผน
8.         กลยุทธ์ขององค์กร และจะสามารถจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม ลดความสิ้นเปลืองใน
9.         ส่วนที่ไม่ได้อยู่ในแผนกลยุทธ์ออกไปได้
10.    วัฒนธรรมองค์กรจะถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องเหมาะสมกับการวางแผนกลยุทธ์ ทั้งวิธีคิด
11.    แนวทางการทา งาน บรรยากาศในที่ทา งาน นโยบายการดา เนินงาน จะถูกสร้างขึ้นให้ไป
12.    ในทิศทางเดียวกัน

ข้อเสีย

1.         การตั้งแผนกลยุทธ์จะเป็นการวางแผนให้องค์กรไปสู่การบรรลุเป้ าหมายที่ตั้งไว้ แต่หาก
2.         องค์กรใดมีงบประมาณที่จา กัด จะทา ให้ยากต่อการดา เนินงานตามแผน เมื่อไม่สามารถ
3.         ดา เนินงานตามแผนงานที่วางไว้ได้ มีความยากลา บากในแต่ละขั้นตอน บุคลากรในองค์กร
4.         ก็จะเสียความมั่นใจ และ ขาดความเชื่อมั่นในองค์กร
5.         ในกรณีที่องค์กรมีเงินทุนมาก มีทรัพยากรที่พร้อมสรรพ และมีความต้องการที่จะดา เนิน
6.         แผนกลยุทธ์ให้ได้เต็มที่ จึงทา ให้อาจเกิดความประมาทในการลงทุน เพราะเชื่อมั่นเป็น
7.         อย่างมากว่าได้ดา เนินการตามแผนงานที่ตั้งเอาไว้อย่างดีเยี่ยมแล้ว
8.         การกำหนดแผนกลยุทธ์ ในบางครั้งอาจสร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้น หรือ กลุ่มผู้
9.         ถือประโยชน์ร่วม เพราะอาจมีเป้ าหมายไม่ตรงกัน เช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นให้ความสา คัญกับ
10.    ผลประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่า การวางเป้าหมายกลยุทธ์ที่วางแผนให้ เป็นองค์กรที่เป็น
11.    ประโยชน์ต่อสาธารณะชน

ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategy Planning)


                                                 
                                             แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

จากแผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้
1.         กำหนดเป้าหมายและพันธกิจ เป็นการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนของสิ่งที่จะทำ
2.         การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์SWOT
3.         การกำหนดแผนและกลยุทธ์ หลังจากการวิเคราะห์SWOTเสร็จสิ้นเราจำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อกำจัดหรือลดผลกระทบจากปัจจัยทางด้านลบและใช้โอกาสจากปัจจัยทางด้านบวก
4.         นำแผนและกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
5.         ควบคุมและประเมินผล ในขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องมีตัวชี้วัด(Indicator)เพื่อเป็นตัวใช้วัดผลถึงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ถ้าพบว่ายังมีข้อบ่งพร่องของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ สามารถกลับไปที่ขั้นตอนที่2 เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องหรือรายละเอียดที่ยังขาดหายไปและนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ต่อไป

ที่มา http://adisonx.blogspot.com/2012/10/strategic-planning.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น