วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

Value Engineering – วิศวกรรมคุณค่า คืออะไร

Value Engineering – วิศวกรรมคุณค่า

          นิยาม : วิศวกรรมคุณค่า หรือ VE คือเทคนิคที่นำไปใช้วิเคราะห์ประโยชน์การใช้งานของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในการใช้งานที่จำเป็น
ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด โดยที่ผลิตภัณฑ์ยังคงมีคุณภาพตรงความต้องการของลูกค้า

          ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องมีการแข่งขันสูง สิ่งที่อุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากคือราคาขายของสินค้านั้นๆ เพราะปัจจับสำคัญอย่างหนึ่ง
ที่ผู้ซื้อมองอยู่คือเรื่องของ “ราคา” การซื้อสินค้าของผู้ซื้อก็คือเอามันไปใช้งาน ก่อนที่ผู้ซื้อจะซื้อก็คงต้องคิดอยู่แล้วว่าจะเอา
มันไปใช้งานอะไร แน่นอนสินค้าที่ทำงานได้อย่างเดียวกันแต่ราคาต่างกัน ราคาที่ถูกกว่าย่อมได้เปรียบ ด้วยเหตุนี้สินค้าแต่ละ
อย่างที่ออกแบบมาก่อนเข้าสู่การผลิต ผู้ออกแบบไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกและวิศวกรต่างก็ใส่หน้าที่ต่างๆเข้าไปใน

สินค้า ซึ่งหน้าที่เหล่านั้นจะแสดงออกซึ่งคุณค่าของสินค้า


           ในตอนแรกที่ทำออกขายอาจจะขายได้บ้างไม่ได้บ้าง หากสินค้าใดที่ขายไม่ได้ ก็อาจต้องนำมาวิเคราะห์กันดูว่า
มันขายไม่ได้เพราะราคาแพงไปหรือไม่ และราคาที่แพงนั้นมันเป็นเพราะต้นทุนมันสูงเกินไปหรือไม่ การที่ต้นทุนสูง
เพราะมันมีชิ้นส่วนต่างๆมากเกินความจำเป็นในการที่จะนำไปใช้งานหรือไม่ ตรงนี้แหละครับที่สำคัญ หากชิ้นส่วนมัน
มากเกินความจำเป็น มันก็จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปเปล่าๆ และลูกค้าก็อาจไม่ได้ใช้หน้าที่ของชิ้นส่วนที่เกินความจำเป็นนั้น หาก
สามารถลดชิ้นส่วนนั้นลงไปโดยไม่กระทบกระเทือนประสิทธิภาพการทำงานของหน้าที่หลัก ก็จะทำให้สินค้านั้นราคาถูกลงได้

          เทคนิคของ VE ได้พัฒนามาจากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1954 โดยกองทัพเรือของอเมริกา แล้วก็ส่งผ่านต่อไปยังกระทรวงกลาโหม จากนั้นก็แพร่ไปทั่ว
อเมริกา และทั่วโลก น่าสนใจที่ว่าหากคุณไปศึกษาความเป็นมาของเทคนิคของสิ่งต่างๆรวมทั้งระบบการบริหารจัดการที่สำคัญๆ คุณจะเห็นได้ว่ามีจำนวน
มากที่ริเริ่มมาจากทางกองทัพ แล้วแพร่ออกไปสู่เอกชน นับว่าทางกองทัพของอเมริกานั้นมีหน่วยงานและบุคลากรที่สามารถเป็นผู้นำในเรื่องต่างๆได้หลาย
เรื่องทีเดียว

          ปรมาจารย์ 2 ท่าน ที่พัฒนาเรื่องนี้ให้ชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้นที่จะลืมเสียไม่ได้คือ ชาร์ล ดับเบิ้ลยู บายเดอะเวย์ (Charles W. Bytheway) และ
ดร. ไมลส์ (Miles) ครับ

          ระบบของ VE จึงเป็นต้นตอของสายการบิน Low Cost ที่ได้ตัดรายการที่ไม่จำเป็นในการบริการออก เพื่อทำให้ต้นทุนต่ำลง และได้รับความนิยม
มากมาย สายการบิน Low Cost นั้นเขาไม่ได้ Low Cost เพราะเอาเครื่องบินเก่าๆและถูกๆมาบินนะครับ เพราะนั่นมันจะกระเทือนหน้าที่การทำงานหลัก เขา
ลดบริการที่ไม่จำเป็นครับ

          หลักการเช่นนี้ก็สามารถนำมาใช้กับการปลูกบ้านได้ หากคุณจะทำโครงการบ้านราคาถูกคุณก็อาจต้องลดสิ่งที่ลูกค้าในระดับนั้นไม่ได้ให้ความสนใจที่
จะใช้ อย่างเช่นตู้เสื้อผ้าแบบฝัง ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและสิ่งต่างๆทำนองนี้ ที่เห็นได้อีกมากมายในบ้าน แต่ไม่ใช่ไปตัดฝาเครื่องชักโครกออก ต้นทุนมันลด
ไปเหมือนกัน แต่ไม่ถูกเรื่องครับ เพราะมันไปกระทบการทำงานในหน้าที่หลัก

          เมื่อพูดกันในเรื่องของสินค้าคำว่าคุณค่าก็คือความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การทำงาน (function) ที่ลูกค้าต้องการและต้นทุน (cost) ที่ทำให้เกิด
 function นั้น โดยเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า

V = F / C

          เมื่อ V คือ คุณค่า F = หน้าที่การทำงาน ส่วน C = ต้นทุน

          ในเมื่อคุณค่ามีสูตรเป็นแบบนี้ การที่จะเพิ่มคุณค่าได้จึงมี 5 ทาง คือ

1 F เพิ่ม Cคงที่
2 F เพิ่ม C ลด
3 F เพิ่ม C เพิ่ม โดยให้เพิ่ม F ในอัตราที่มากกว่า C
4 F คงที่ C ลด
5 F ลด C ลด โดยให้ลด F ในอัตราที่น้อยกว่า C

          ที่ตั้งใจจะทำกันจริงๆก็จะเป็นข้อ 2 และข้อ 4

          เมื่อเป็นเช่นนี้การที่จะจัดการกับคุณค่าได้คุณก็ต้องรู้ F และ C ของสิ่งที่คุณจะหยิบมาทำ การที่จะทำให้รู้ได้ทีมงานต้องวิเคราะห์มันออกมา ลองมาดู
ตัวอย่างกันสักนิด



          จากรูปที่ 1 เป็นดินสอแท่งหนึ่ง สิ่งที่คุณต้องทำคือระบุหน้าที่ของดินสอออกมา ว่ามันทำอะไรบ้าง ทางที่ดีระบุออกมาให้หมดทั้งหน้าที่หลักและ
หน้าที่รอง ต่อไปก็ต้องแยกชิ้นส่วนออก แล้วระบุหน้าที่ของแต่ละชิ้นเข้าไป คุณก็จะรู้อะไรขึ้นมาอีกมาก ลองตัดบางสิ่งบางอย่างออกแล้วกระเทือนหน้าที่
หลักหรือไม่

 ที่มา : http://topofquality.com/sve/indexve.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น